1 ความเป็นมาของการวิจัยดำเนินงาน
เริ่มจากที่วงการทหารของประเทศอังกฤษที่ต้องการหาแนวทางปฏิบัติเพื่อเลือกใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่ในห้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
2 ความหมายของการวิจัยดำเนินงาน
การวิจัยดำเนินงานเป็นการหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาเชิงปริมาณ (quantitative) ทางการบริหารจัดการ โดยใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์ มาช่วย ภายใต้เงื่อนไขบังคับด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง
3 ขั้นตอนของการวิจัยดำเนินงาน
1. กำหนดปัญหา (Define the problem)
2. สร้างตัวแบบแทนระบบของปัญหา (Model Formulating)
3. หาผลลัพธ์จากตัวแบบ (Derive solutions from the model)
4. ตรวจสอบตัวแบบและผลลัพธ์ (Testing the model and evaluating the solutions)
5. การนำผลลัพธ์ไปใช้ (Implementing)
4 การประยุกต์ใช้การวิจัยดำเนินงาน
1. การจัดสรรทรัพยากร ได้แก่ การผลิต การสั่งซื้อสินค้ามาขายให้ได้กำไรสูงสุด หรือมีต้นทุนต่ำสุด โดยใช้ Linear Programming
2. การขนส่ง การวางแผนการขนส่งจากแหล่งผลิตไปยังสถานที่เก็บหรือส่งให้ลูกค้าให้ใช้เวลาน้อยที่สุด หรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด โดยใช้เทคนิคเกี่ยวกับการขนส่ง (Transportation) มาช่วยหาคำตอบ
3. การมอบหมายงาน เพื่อให้งานเสร็จเร็วที่สุด มีคุณภาพดีที่สุด
4. การวิเคราะห์ข่ายงาน การควบคุมโครงงาน ( project )
5. การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอนและความเสี่ยง ในการตัดสินใจทางธุรกิจว่าจะเลือกทางเลือกใด ภายใต้สภาวะการณ์ต่างๆ
6. การตัดสินใจภายในการแข่งข้น โดยใช้ Game Theory
7. การบริหารสินค้าคงคลัง เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารปริมาณสินค้าคงคลัง เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า โดยเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้า หรือค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อน้อยที่สุด และไม่เสียโอกาสในการทำกำไร
8. ระบบแถวคอย ระบบแถวคอยเป็นส่วนหนึ่งของการขายสินค้าและบริการ การหาจำนวนผู้ให้บริการที่เหมาะสม โดยใช้ Queuing Theory มาประยุกต์ใช้
9. การจำลองสถานการณ์ เป็นการใช้เทคนิคการเลียนแบบระบบในชีวิตจริงเพื่อหาคำตอบหรือผลลัพธ์ของทางเลือกต่างๆเพื่อประกอบการตั้ดสินใจ ในกรณีที่ไม่สามารถรอให้สถานการณ์จริงเกิดขึ้นได้บ่อยๆ
No comments:
Post a Comment